วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2559

มองบวกหรือหลอกตัวเอง

หนึ่งบทความจากหนังสือ POSITIVE FEELING มหัศจรรย์ ความรู้สึกบวก
“ขณะที่รถรับพระสงฆ์เดินทางมาถึงงานขึ้นบ้านใหม่ของผม ซึ่งทำพิธีเวลาประมาณ 10.00 น. ใจหนึ่ง ก็รู้สึกยินดีและเป็นมงคล อีกใจหนึ่งก็รู้สึกกังวลที่ผู้รับเหมาจัดเลี้ยงอาหารยังมาไม่ถึง จนกระทั่งเวลา 10.30 น. ผมได้โทรศัพท์ตามผู้รับเหมาจัดเลี้ยงอาหารอีกครั้งหนึ่ง เพื่อขอให้เดินทางมาโดยเร็ว เพราะพระสงฆ์จะต้องฉัน เพล เวลา 11.00 น. ขณะที่แขกเหรื่อที่เชิญมาร่วมงานอีก 200 คน ก็ต้องเลี้ยงอาหารกลางวัน เวลา 12.00 น. ผมได้รับคำตอบจากผู้รับเหมาจัดเลี้ยงอาหารว่า ให้ใจเย็นอีกสักนิดหนึ่ง เดี๋ยวก็มาถึงแล้ว แต่ปรากฏว่าเมื่อ พระสงฆ์ใกล้จะทำพิธีเสร็จ ก็ยังไม่เห็นรถจัดเลี้ยงอาหารมาถึง ผมจึงขอให้ญาติรีบออกไปซื้ออาหารจานด่วน เพื่อเตรียมเลี้ยงพระ จนกระทั่งเวลา 11.45 น. จึงเห็นรถผู้รับเหมาจัดเลี้ยงอาหารมาถึงและเริ่มจัดอาหาร ขณะที่พระสงฆ์ฉันอาหารที่ซื้อมาเรียบร้อยแล้ว ส่วนแขกที่เชิญมาร่วมงานก็ต้องนั่งรอจนกว่าจะจัดอาหาร เรียบร้อย และแขกบางท่านก็ทยอยกลับไปก่อน ผมรู้สึกเสียความรู้สึกและเสียหน้ามากที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ทั้ง ๆ ที่เมื่อตอนติดต่อสั่งอาหารจัดเลี้ยง ผมขอให้ส่งอาหารถึงบ้าน เวลา 09.30 น. ผมต่อว่าผู้จัดเลี้ยงว่าเขาไม่รับผิดชอบทำให้งานมงคลขึ้นบ้านใหม่ผมเสียหาย ผู้รับเหมาไม่ขอโทษผมที่เขาทำผิดพลาดและไร้ความรับผิดชอบ แต่กลับพูดกับผมว่า ไม่เป็นไร ค่ะ ดิฉันมองบวกค่ะ ไม่เป็นไรค่ะ ดิฉันมองบวกค่ะ คุณเองก็ควรมองบวกด้วยเช่นกันค่ะ พระสงฆ์ฉันหลังเที่ยง วันนิดหน่อยก็ไม่เป็นไรค่ะ มวงบวกค๊ะ” นั่นคือเหตุการณ์ที่กัลยาณมิตรของผู้เขียนคนหนึ่งเล่าให้ฟัง ภายหลังจากงานขึ้นบ้านใหม่ และถามผู้เขียนด้วยคำถามว่า “เหตุการณ์ดังกล่าว เป็นการมองบวกหรือไม่?, มองบวกได้อย่างไร?, การไร้ความรับผิดชอบแล้วบอกว่ามองบวกเหมาะสมหรือไม่?, การมองบวกกับการหลอกตัวเองต่างกันอย่างไร?, เกณฑ์ชี้วัดการมองบวกคืออะไร?” เหตุการณ์และคำถามดังกล่าว ผู้เขียนเห็นว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก เพราะปัจจุบันมี การพูดเรื่องการมองบวก หรือมองโลกในด้านดีกันมากขึ้น ทั้งการเขียน การพูด แต่ส่วนใหญ่นักเขียนและ วิทยากรมักจะยกแต่ตัวอย่างเหตุการณ์ที่มองด้านบวก ไม่ค่อยพบการอธิบายถึงเกณฑ์ชี้วัดการมองบวก ผู้เขียน จึงได้คิดหาแนวทางเรื่องเกณฑ์มองบวกที่ควรคนึง จึงได้ข้อสรุปเป็นหลักคิด 5 ส. เพื่อการมองบวก นั่นคือ การมองบวกต้องประกอบด้วย การมีสติสัมปชัญญะ สมาธิ สมเหตุผล สร้างสรรค์ และสร้างมิตร โดยมี รายละเอียดดังนี้
  1. สติสัมปชัญญะ การมีความระลึกได้ และรู้ตัวทั่วพร้อมต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิต จะช่วยให้เกิด ปัญญาพิจารณาเหตุการณ์ต่าง ๆ ในด้านดีและมีความรับผิดชอบ ไม่เดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่น จะช่วย แยกแยะระหว่างการมองบวกกับการหลอกตนเองออกจากกัน
  2. สมาธิ การมีสมาธิ หมายถึงเมื่อสถานการณ์ใด ๆ ในชีวิต แล้วมีความตั้งใจ ใส่ใจ สนใจในสิ่งที่กลังทำจะช่วยให้เกิดการใคร่ครวญ ดูรายละเอียดต่าง ๆ ของงานให้รอบด้านนำมาสู่ความรับผิดชอบและ ระมัดระวังไม่ให้เกิดความผิดพลาดและเสียหายทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
  3. สมเหตุผล การวิเคราะห์สถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตให้สมเหตุผล โดยดูว่า อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นผล อะไรสัมพันธ์กับอะไร และอะไรไม่สัมพันธ์กับอะไร และเหตุผลนั้นอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง และความรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคมด้วยหรือไม่อย่างไร
  4. สร้างสรรค์ การมองสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตอย่างสร้างสรรค์ หมายถึง  การไม่ทุกข์ระทมตรมใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น แต่มองเห็นประโยชน์ มองเห็นโอกาส มองเห็นความหวัง มองเห็น ความหมายที่ดีงาม และมองเห็นคุณค่าในเหตุการณ์ที่เกิดแล้วหรือยังมาไม่ถึง
  5. สร้างมิตร การกระทใด ๆ หรือเหตุการณ์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตแล้วส่งผลให้คนเรา มีวิธีคิด วิธีพูด วิธีทที่ส่งผลต่อการสร้างความสัมพันธ์ทั้งส่วนตัว ครอบครัวและสังคมได้ สิ่งนั้นถือว่าเป็นการมองบวก

เพราะฉะนั้นจากเหตุการณ์ตัวอย่างที่น าเสนอมาตอนต้น คือการส่งสินค้าไม่ทันตามกหนดเวลา แต่บอกว่าเป็น การมองบวก และยังชวนผู้รับบริการให้มองบวกด้วยนั้น เป็นการมองบวกหรือไม่คงต้องใช้หลักการ 5 ส. ของ การมองบวกมาเป็นเกณฑ์วิเคราะห์ นั่นคือเหตุการณ์ดังกล่าวอยู่บนพื้นฐานของการมีสติสัมปชัญญะ สมาธิ สม เหตุผล สร้างสรรค์ และสร้างมิตรหรือไม่ หากสอดคล้องกับหลักการ 5 ส. ที่ว่าก็น่าจะเป็นการมองบวก แต่หาก ไม่สอดคล้องก็คงจะเป็นการหลอกตัวเองโดยใช้กลไกทางจิตที่ทให้ตัวเองสบายใจขึ้นชั่วคราวเท่านั้น ขณะที่นักธุรกิจท่านหนึ่งเล่าให้ฟังว่า บ้านอยู่กรุงเทพฯเมื่อครั้งที่น้ำท่วมหนักและยาวนานที่ผ่านมา จึงพยายาม มองเหตุการณ์ดังกล่าวในด้านดี คือมองเห็นเป็นโอกาสที่ได้พิสูจน์ความอดทนและช่วยเหลือคนอื่น ๆ ที่ทุกข์ ร่วมกัน และยังเป็นโอกาสทางการตลาดที่จะได้จหน่ายเครื่องกรองน้ำให้กับครอบครัวที่มีกลังซื้อและบริจาค เครื่องกรองน้ำให้กับวัดและสถานพักพิงของผู้ลี้ภัยน้ำท่วมด้วย อย่างนี้น่าจะเข้าได้กับหลักการ 5 ส. ของการ มองบวกมากกว่าตัวอย่างแรกที่ส่งอาหารไม่ทันแล้วพูดว่ามองบวก การมองบวกหรือมองโลกด้านดีนั้นสคัญ ต่อชีวิตและสังคมมาก เพราะในโลกของความจริงเรามิอาจควบคุมชีวิตและสังคมให้เป็นไปตามที่เราต้องการได้ อย่างสมบูรณ์ เพราะสรรพสิ่งทั้งหลายในโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป แต่การมีจิตใจที่ดีงามและสงบสุขด้วยการมองโลกด้านดีอย่างเหมาะสมและถูกต้องจะช่วยให้จิตใจอิ่มเอิบเบิก บานได้อย่างแท้จริง

ผู้ต่ง : วุฒิพงศ ์ ถายะพิงค์

อ่านฟรีที่นี่ โดยค้นหาจากชื่อตามสารบัญ
ภาคที่ 1 ความสำเร็จจากการสร้างพลังความรู้สึกบวกด้วยจิตวิทยา 
  •  รู้สึกอย่างไรได้อย่างนั้น - ความทรงจำที่ชื่นใจ 
  •  พลังรักพลังใจ - เขย่าความฝัน 
  •  บาดาลใจ - เอาใจเราไปใส่ใจเขา 
  •  ตั้งเป้าให้เข้าถึง - ความอุ่นใจ 
  •  ความรู้คู่ความรู้สึกบวก - คลายทุกข์ด้วยการรับฟัง 

ภาคที่ 2 ความสำเร็จจากการสร้างพลังความรู้สึกบวกด้วยการปรับมุมมอง 
  •  มองบวกหรือหลอกตัวเอง 
  •  ขาดทุนสองทอด 
  •  แม้ลมหายใจยังรู้สึกผิด 
  •  โอกาสและความหวัง 
  •  สุขจากใจ 
  •  คิดนอกกรอบ 
  •  เรียนรู้อะไรจากภัยน้ำท่วม 
  •  คนสำคัญที่ไม่สำคัญ 
  •  เผลอใจรัก 
  •  แยกแยะช่วยแก้ไข 
  •  แยกแยะช่วยเยียวยา 
  •  ห้าก้าวสร้างพลังใจ 
  •  ค้นหาความดี 

ภาคที่ 3 ความสำเร็จจากการสร้างพลังความรู้สึกบวกด้วยศาสนา ปรัชญา 
  •  ดับทุกข์ด้วยพุทธธรรม 
  •  อำนาจน้ำหรือจะชนะอำนาจใจ 
  •  ธรรมดาที่ไม่ธรรมดา 
  •  อดีตมีไว้ขมขื่นฤาเรียนรู้ 
  •  ยุติธรรมยุติภัย 
  •  น้อมเข้าหาตน 
  •  ความมั่นคงทางใจ 
  •  โอหัง โอ้อวด อัตตาสูง 
  •  ไม่จริง! ไม่เชื่อ! ไม่ใช่! 
  •  เปี่ยมสุขทุกลมหายใจ 
  •  สุขใจจากความจริง 
  •  บทสรุป คุณค่าของพลังความรู้สึกบวก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ONET 58 ENG M6 ข้อ 16

แหล่งที่มาของภาพ The boy claimed that the pencil box belonged to him, but soon everybody found out that he___. 1. is lying 2. tell...