บทเรียนออนไลน์ รายวิชาเพิ่มเติม ภาษาอังกฤษอ่านเขียน 2 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2
Online Lesson: Reading and Writing English 2 Mathayomsuksa 4 Semester 2 (B1: CEFR)
หนังสืออ้างอิง Wise Up in Reading & Writing 1 สำนักพิมพ์แม็คเอดูเคชัน/Cengage Learning ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
บทเรียนและใบงาน (Worksheet) ที่เน้นทักษะการเขียน > อ่าน > พูด > ฟัง ด้วยกิจกรรมเดี่ยว (Individual) คู่ (Pair Work) กลุ่ม (Group Work) และทั้งชั้น (Whole-class) ในการฝึกอภิปรายเพื่อแสดงความคิดเห็น ทำผังความคิด (Mind Mapping) หรือระดมความคิด (Brainstorming) เพื่อหาคำศัพท์ สำนวนที่ใช้ในการเขียน การสรุปกฎเกณฑ์ด้านไวยากรณ์และโครงสร้างประโยค และการหาข้อมูลในหัวข้อที่จะเขียน ฯลฯ เพื่อให้นักเรียนขียนในลักษณะของกระบวนการ (Process) และตรวจสอบงานเขียนของตนเองและผู้อื่นได้โดยใช้รายการตรวจสอบ (Checklist)
เริ่มด้วยบทอ่าน (Input) ให้นักเรียนเห็นการใช้ภาษาในความเรียงหลายรูปแบบ และใช้เป็นตัวอย่าง
โครงสร้างของภาษาเรียงจากย่อยไปใหญ่ ได้แก่ คำศัพท์ ไวยากรณ์ โครงสร้างประโยค และโครงสร้างความเรียง มีแบบฝึกครบทุกทักษะ เพื่อเป็นฐานในการเขียนความเรียงประเภทต่างๆ เพื่อให้เห็นกระบวนการ (Process) เขียน
คำศัพท์ประมาณ 10 คำในแต่ละหน่วยจะถูกเน้นเพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใช้สื่อสารผ่านทักษะต่างๆ และให้ง่ายต่อการจดจำ ในจำนวนนี้คำศัพท์อย่างน้อย 4 คำ มาจากรายการคำศัพท์ทางวิชาการ (Academic Word List) ซึ่งจะช่วยเตรียมนักเรียนให้นำไปใช้ในการเขียนเชิงวิชาการและงานเขียนที่เป็นทางการ (Formal Style) ซึ่งจะเป็นการเตรียมตัวสำหรับการสอบเขียนที่เป็นข้อสอบมาตรฐานต่างๆ
กฎเกณฑ์และแบบฝึกหัดด้านไวยากรณ์-โครงสร้างประโยคจะช่วยเพิ่มความรู้ความสามารถเชิงภาษาให้นักเรียนเขียนได้ถูกต้อง
นอกจากนี้จะมีการเน้นเรื่องการใช้คำเชื่อมความ (Linking Words) เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึงการเขียนประโยคที่ยาวและซับซ้อนขึ้น เพิ่มข้อมูลได้มากขึ้น เขียนได้หลายรูปแบบขึ้น และมีการเชื่อมโยงข้อความให้เกี่ยวเนื่องกัน เพื่อสร้างความสละสลวยด้านภาษาเขียน
หัวข้อ Get Ready to Write ซึ่งทำหลังจากนักเรียนมีความมั่นใจในตัวภาษาแล้ว จะช่วยเตรียมนักเรียนให้พร้อมทั้งด้านความคิด เนื้อหา และกฎเกณฑ์ในการจัดลำดับขั้นตอนในการนำเสนอเนื้อหา ก่อนลงมือเขียนเรียงความเป้าหมาย
ในขั้นสุดท้าย นักเรียนจะได้ฝึกปฏิบัติการเขียนเรียงความตามตัวอย่าง (Model Composition) ในรูปแบบ (Text Type) ที่ปรับเปลี่ยนตามวัตถุประสงค์ของหน่วยการเรียนนั้นๆ เพื่อเพิ่มความพร้อมขั้นสุดท้าย ทั้งนี้นักเรียนจะต้องตอบคำถามเพื่อเตรียมข้อมูลอันเป็นรายละเอียดของตนเอง สำหรับการเขียนเรียงความเป้าหมาย ตามกรอบโครงสร้างที่กำหนด และยังเป็นโอกาสให้นักเรียนได้ฝึกรูปแบบงานเขียนต่างๆ ที่อาจจะพบได้จริงในการทำข้อสอบมาตรฐานอีกด้วย
ด้วยการพูดสนทนาซักถามเพื่อนเพื่อหาข้อมูลและเขียนคำตอบเปรียบเทียบกัน เตรียมไว้สำหรับการอ่านซึ่งนักเรียนจะได้พบกับคำศัพท์ต่างๆ ที่ต้องใช้ในรูปแบบความเรียงชนิดนั้นๆ ล้วนเป็นการสร้างความน่าสนใจและบรรยากาศที่ดี อนึ่งกิจกรรมคู่ กิจกรรมกลุ่ม และกิจกรรมทั้งชั้น ก็ยังช่วยทำให้นักเรียนมีความร่วมมือในการทำงานกับผู้อื่นและกล้าแสดงความคิดเห็น
กิจกรรมตรวจงานด้วยตนเองและตรวจให้เพื่อน โดยใช้รายการตรวจสอบ (Checklist) เพื่อหาที่ผิด และเขียนวิจารณ์งานของผู้อื่นหลังการตรวจก็เป็นทักษะสำคัญที่ไม่แต่จะช่วยให้สอบได้คะแนนดีด้านไวยากรณ์ และโครงสร้างประโยคเท่านั้น แต่ยังเป็นประโยชน์ต่องานเขียนในอนาคตของตนอีกด้วย
อนึ่งในแต่ละหน่วยการเรียนนักเรียนต้องทำใบงาน (Worksheet) เป็นการฝึกภาษาที่ได้เรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อสร้างความมั่นใจว่าใช้ได้ถูกต้อง และทำให้ผู้สอนรู้ว่าควรจะต้องสอนซ่อมเสริมหัวข้อใดอีก
นอกจากนี้ ยังต้องทำแบบทดสอบประจำหน่วย (Unit Quiz) เพื่อเป็นการประเมินผลการเรียนในหน่วยการเรียนนั้นๆ ในด้านไวยากรณ์ โครงสร้างประโยค และการเขียนความเรียงสั้นๆ อีกด้วย
วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ONET 58 ENG M6 ข้อ 16
แหล่งที่มาของภาพ The boy claimed that the pencil box belonged to him, but soon everybody found out that he___. 1. is lying 2. tell...
-
Credit tes.com Credit 59070229g5-bsi.blogspot.com Credit stendenuncovered.blogspot.com Cause : เหตุหรือสาเหตุ (คำถามหร...
-
ข้อมูลจากกระทรวงศึกษาธิการนะคะ แต่ตัดมา ฉบับจริงภาษาไทย ฉบับจริงภาษาอังกฤษ นำเสนอ 2 ภาษานะคะ ทำเพื่อครูที่สอน ม.ปลายด้วยกันค่า สำหร...
-
Unit Test 2 NAME ………………… DATE …………… CLASS ………………… MARK ______/100 (Time: 30 minutes) Vocabulary & Grammar A. Circle the ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น